ผมเข้าใจในตัวผมเองว่า มันเป็นข้อดีในการทำงานด้วยความที่เราเป็นอาจารย์ด้วย เป็นคนทำงานศิลปะด้วย ประสบการณ์ในการทำงานของตัวเองก็เป็นประสบการณ์ตรงที่สามารถที่จะเอามาสื่อสารหรือว่าแนะนำกับนักศึกษาได้ ขณะเดียวกันการค้นคว้า การทำความเข้าใจข้อมูลต่างๆ หรือว่าการสรุปข้อมูลต่างๆ เพื่อจะมาย่อยให้นิสิตนักศึกษา ได้เข้าใจง่ายๆในชั้นเรียน หรือว่าในกระบวนการ Createงานร่วมกันก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้เกิดความคิด เกิดความเข้าใจหรือว่าเกิดข้อมูลอื่นๆทรือเกี่ยวข้องสำหรับการทำงานของตัวเองแล้วก็การที่จะให้คำแนะนำกับนิสิตนักศึกษาก็ยิ่งดีขึ้นกว่า ที่จะเป็นศิลปินอย่างเดียวในความเข้าใจของผม
อ.ดร.ประสิทธิ์ วิชายะ อาจารย์ประจำ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผมทํางานเรื่องของการอยู่รวมกัน ของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ ทั้งในแบบรูปธรรมและอุดมคติ อันนี้ คือ เป็นแนวความคิดภาพรวมของนิทรรศการ เพราะว่าผมพยามจะแยกเรื่องระหว่างแนวความคิด กับเนื้อหาของชุดงานและก็ของชิ้นงานในแต่ละชิ้น โดยภาพรวมนี้ ตัวงานยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิต การอยู่รวมกัน ผมได้สัมผัสการอยู่รวมกัน แบบรูปธรรมและอุดมคติ หลายคนมักจะถามว่าแบบว่า มันคืออะไร ถ้าเรายกตัวอย่าง ยักษ์ คือ... เราไม่รู้น่ะว่า ตัวยักษ์หน้าตาจริงๆ เป็นยังไง แต่พอเราพูดถึง ยักษ์ คนจะนึกออกเลยว่า ตัวเขียว มีเขี้ยว เราพูดถึงเงือก เราก็ไม่เคยเห็นเงือกกันน่ะ แต่เราก็รู้ แบบว่า จินตนาการเรามันบอกว่า เงือกมันจะเป็นยังไง ตัวเป็นคน หางเป็นปลา
ศิลปิน : อิทธิพล พัฒรชนม์
"ศิลปะ ต้องทำออกมาจากความรัก แล้วก็รู้สึกกับมันจริงๆ แล้วเราก็ถ่ายทอดออกมา โดยไม่เสแสร้งด้วยความจริงใจของเรา" เป็นคำพูดของอาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ถ้าสมมุติเราขี้เกียจ อาจารย์เคยบอกว่าลองเสแสร้งบ้างก็ได้ แบบว่าเสแสร้งเป็นคนขยันอะไรเงี้ย ถ้าสมมุติเราแกล้งเป็นคนขยันสัก 5 นาที พอสักพักเราทำ ทำไปแล้วเราจะลืมนะ ทีนี้ ยาวเลย เป็น 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง ยาวไปเลยพอแกล้งเป็นคนขยันแล้ว พอทำแล้ว มันสนุก เราก็ลืม ลืมความขี้เกียจไปเลย เวลาเราเราขี้เกียจหรือเราไม่มีไอเดียอะไร ลองทำไปก่อน
ศิลปิน : ทรงฤทธิ์ เหมือยพรม
สงครามชีวิต Life War ของ หนึ่ง กิตติศักดิ์ ฝั้นสาย เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึง ชีวิต ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย ทั้งดีและไม่ดี เหตุการณ์ที่ทั้งผ่านมาไม่ได้ และผ่านไปได้ การสำรวจสภาวะภายในจิตใจของตนเองตั้งแต่ครั้งได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิทยาลัยสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ การเรียนวิชาศิลปะครึ่งหนึ่ง เรื่องวิชาทางธรรมะครึ่งหนึ่ง ทำให้หนึ่งพบสมดุลชีวิตผ่านการทำงานศิลปะที่สะท้อนหลักธรรมทางพุทธศาสนา นิทรรศการในครั้งนี้ รวบรวมผลงานส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนในชีวิตของมนุษย์ ความเปราะบางที่สะท้อนผ่านเทคนิคการเผาแบบดั้งเดิมซึ่งหากไม่ระวังก็อาจแตกสลายได้ การเปลี่ยนแปลงของรูปทรงที่ไม่บางชิ้นไม่อาจระบุได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดไหน การสูญสลายเพื่อรอการกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง
เส้นขอบฟ้าเป็นเส้นที่สะท้อน
สิ่งที่เป็นสมมุติหรือเป็นการกระทำของมนุษย์
ที่กระทำต่อธรรมชาติ
จริงๆมนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันเองด้วย
การแบ่งพรมแดน แบ่งสีผิว แบ่งเพศ แบ่งทุกอย่าง
แต่ในความเชื่อของเรา
เราคิดว่ามันล้วนมีกันและกัน
แล้วก็ต่างเชื่อมโยงกันเพราะฉะนั้นเส้นขอบฟ้า
เส้นสมมุติอันนี้ ค่อนข้างสำคัญในความคิดเรา
ที่อยู่กับเรามานานแล้วก็อยู่ในงานของเรา
อังกฤษ อัจฉริยะโสภณ
สำหรับผม มันน่าจะเป็นสิ่งที่ผมกำลังทดลองหรือเรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากการทำสิ่งเหล่านี้ อาคารหลังแรกมันเป็นตัวพื้นที่การจัดแสดงงานด้วย เป็นพื้นที่ได้พบปะแลกเปลี่ยน คนอาจจะไม่รู้จักกันมาแสดงความเห็น มาเดิน ไปเดินมา อะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าในขณะเดียวกัน มันก็คือเป็นพื้นที่ พื้นที่หนึ่งที่ผมคิดว่า ตัดสิ่งที่เราเรียกว่าเป็น ชิ้นงาน หรือว่า Object หรือ Sculpture ที่ผมถนัดออกไปเลยก็ได้ แต่ผมคิดว่ามันมีชีวิตแล้ว มันมีมิติที่น่าสนใจมากกว่านั้น สำหรับการที่เกิดสิ่งนี้ขึ้นมา มันผ่านไป 1 ปี รูปทรงมันเปลี่ยน ผมหมายถึง กิจกรรม Activity อะไรต่างๆที่เกิดขึ้น จากจุดเริ่มต้นที่มันไม่มีอะไรเลย เป็นเพียงแค่พื้นว่างเปล่า แล้วมันมีขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นน่ะมันก็อาจจะย่อยสลายไป ซึ่งมันก็ไม่นานหรอก มันก็จะต้องถูกรื้อถอนหรือว่ายุบไป แล้วอาจแปลสภาพไปเป็นรูปทรงอย่างอื่น หรือเป็นรูปแบบฟิล์มก็ได้ เป็นวีดีโอหรืออะไรก็ได้ สำหรับผม มันก็ถือว่ามันก็ยังคงทำงานของมัน
ศิลปิน : อาจารย์ ดร.ประจักษ์ สุปันตี อาจารย์สาขาทัศนศิลป์ ออกแบบนิเทศศิลป์ และ สาขาวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พอมาถึงจุดนึง..แน่นอน.. มันจะต้องถึงจุดที่ตั้งคำถามกับตัวเอง ผมคิดว่าทุกคนต้องตั้งคำถาม ผมตั้งคำถามเรียบร้อยแล้ว แล้วผมก็ทำงานแบบชัดเจนขึ้น แต่ก่อนก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง แต่ตอนนี้ ผมชัดเจนขึ้น ผมคิดว่าสุดท้ายงานผมแทบไม่เหมือนแต่ก่อน ซึ่งแต่ก่อนทั้งได้รางวัล ขายได้ ตอนนี้มันไม่ได้รางวัล(ผมไม่ส่ง) แล้วก็ไม่ได้ขายได้ แต่ที่ที่ผมค้นพบ คือ ค้นพบอยู่ 2 คำ "คุณค่ากับมูลค่า" เท่าที่ผมเจอกับตัวเองตอนนี้ สมัยก่อนน่ะผมคิดว่า ผมสนใจคุณค่าน้อย บางทีถูกแรงผลักด้วยมูลค่า หรือความอยากดัง อยากได้รางวัล ผมก็ส่ง ขายงานได้ แต่วันนี้มันกลับข้าง ผมสนใจเรื่องคุณค่ามากกว่า แล้วพอความเข้าใจเรื่องคุณค่ามากขึ้น ผมก็เลยมาทบทวนว่า "ถ้าเรามีคุณค่ามูลค่ามันก็ตามมาเอง"
ศิลปิน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธวัชชัย ช่างเกวียน อาจารย์สาขาทัศนศิลป์ ออกแบบนิเทศศิลป์ และ สาขาวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผมเจตนาเลียนแบบธรรมชาติเพราะว่าภายหลังมาเ ผมก็ศึกษาธรรมะไปในคราวเดียว เรารู้สึกว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องนี้ครับ เรารู้สึกว่าธรรมชาติกำลังสอนเราอยู่เสมอเลย เราช่างสังเกตหรือเห็นมันหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ผมก็เจตนาเลียนแบบธรรมชาติเพื่อให้เรารู้ซึ้งถึงแก่นสารที่ธรรมชาติกำลังบอกเราอยู่เพียงแต่ย้ำเตือนตัวเองว่า เรากำลังฟังธรรมชาติอยู่หรือเปล่า
ผมว่าทุกวันเนี้ยเราเริ่มหาคำตอบในชีวิตได้ง่ายยิ่งอยู่ในยุคAI เนี่ยเพียงแค่ปลายนิ้วเราก็จะได้คำตอบแล้วเพราะฉะนั้นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าคือการตั้งคำถามนวัตกรรมหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นเอ่อส่งมาให้มนุษย์เราได้ใช้
นวัตกรรมเนี่ยก็เป็นคำถามการแก้ปัญหาเราเนี้ยครับจากคำถามคำถามหนึเนี่ยผมว่าณวันเนี้ยคำถามยิ่งใหญ่กว่าคำตอบมากมายเลยครับ
ศิลปิน : วิษณุพงษ์ หนูนันท์
เสน่ห์ของงาน Realistic (งานเหมือนจริง) ทำให้เราเข้าไปรู้ถึงอารมณ์ แล้วก็บุคคลิกภาพ ของคนที่มาเป็นหุ่นที่เราจะปั้น ซึ่งเป็นโจทย์ที่สนุก เราต้องถ่ายทอดออกมาให้ได้ ผมว่ามันเป็นการท้าทาย ว่าเราจะสามารถดึงอารมณ์ ของสิ่งที่เรากำลังปั้น ก็คือบุคคล ออกมาได้สมบูรณ์แบบ แบบที่เราต้องการหรือเปล่า? อย่างเช่น... ถ้าเราจะปั้นนักรบ เราก็ต้องดึงอารมณ์ที่เป็นนักรบออกมา เราปั้นพระสงฆ์ เราก็ต้องดึงความเมตตาของท่านออกมา ปั้นนักปราชญ์ เราก็จะต้องดึง Character ของความเป็นนักคิดออกมาให้ได้
ศิลปิน : กิตติชัย ตรีรัตน์วิชชา
ตอนที่เราทำ ตอนเด็กๆ คือ เราแค่วาด เพื่อระบายออก แต่ตอนนี้เราก็กลับมามองว่า " นายกร่าง " มัน
สื่อสารได้ เพราะเราผ่านการเรียนมาแล้ว งานศิลปะมันไม่มีผิดไม่มีถูกก็จริง แต่งาน ศิลปะมันเป็นสื่อชนิดนึงสื่อที่ใช้อธิบายนามธรรมทางความคิดของศิลปิน ให้ออกมาเป็นรูปธรรม และรูปธรรมนั้นน่ะมันจึงไม่มีผิดไม่มีถูกมันขึ้นอยู่กับว่า ศิลปินจะสามารถสื่อความในของตัวเองออกมาผ่านภาพได้มั้ย นี่จึงมองว่าศิลปะ
มันเป็นเครื่องมือมันเป็นสื่อชนิดหนึ่งบวกกับการที่เรามีประสบการณ์เรามีทักษะทางด้านฝีมือเพิ่มขึ้นน่ะ ทุกอย่างเหมือนมันมาบรรจบรวมกัน จนเริ่มทำโปรเจกต์ จริงจัง
ที่เริ่มต้นเขียนการ์ตูนเรื่องนี้ กลายเป็นว่าสิ่งที่คิดไว้ตอนนั้นที่จะเป็น มันกลับไม่ใช่แล้วมันกลับมีความบานปายของตัวละคร ที่มันที่มันมีสตอรี่ของมัน มันมีวัตถุประสงค์ของมัน มันมีเจตจำนงของ
มันน่ะในการที่มันดำรงอยู่ตอนเนายกร่าง มันเกินควบคุมไป ในการที่เราจะเซ็ตโครงเรื่องให้มันเป็นเหมือนการ์ตูนทั่วไป มันเหมือนการ์ตูนที่ไม่รู้ว่ามันจะมีตอนจบมั้ย แล้วในตอนจบเนี้ยมันจะเป็นอย่างที่ตัวผมคิดไว้หรือเปล่าคือมันเป็นการ์ตูนเรื่องยาวของแท้ ที่ไม่รู้ว่ามันจะจบยังไง
ศิลปิน : ณัฐภัทร ดิสสร
There's much to see here. So, take your time, look around, and learn all there is to know about us. We hope you enjoy our site and take a moment to drop us a line.
Copyright © 2019 ArtsWork
เราาใช้คุกกี้ในการวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดีขึ้น เมื่อยอมรับการใช้งานคุกกี้ของเรา เราจะรวบรวมข้อมูลของคุณกับข้อมูลผู้ใช้อื่นๆ ทั้งหมด